
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้บริการวิชาการและงานวิจัยแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนี้
งานแผน นโยบายและยุทธศาสตร์
- สาขาการเกษตรและพัฒนาชนบท
- สาขาการศึกษา
- สาขากฎหมาย
- สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร
- สาขามาตรฐานคุณภาพ
งานการตลาดและการเงิน
- สาขาการเงิน
- สาขาการท่องเที่ยว
- สาขาประชากร
- สาขาการประชาสัมพันธ์
- สาขาการวิจัยและการประเมินผล
งานไอทีและโลจิสติกส์
- สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
- สาขาคมนาคมขนส่ง
งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์และสาธารณสุข
- สาขาสิ่งแวดล้อม
- สาขาสาธารณสุข
- สาขาอุตสาหกรรม
- สาขาการประปาและสุขาภิบาล
งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
- สาขาพลังงาน
- สาขาพัฒนาเมือง
- สาขาอุตสาหกรรมก่อสร้าง
- สาขาเบ็ดเตล็ด
งานคลัสเตอร์วิจัยและโครงการพิเศษ
- เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยภายใต้คลัสเตอร์วิจัยต่าง ๆ ในการกำกับดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชาให้เกิดเครือข่ายด้านการวิจัยที่เข้มแข็ง
งานหลักสูตร อบรม และการประชุม
- งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการประชุมวิชาการในสาขาที่ขึ้นทะเบียนกับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงานของผู้บริหาร ตลอดจนบุคลากรทุกระดับชั้นของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อื่น ๆ
- งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ “Unisearch Journal”
สื่อกลางในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และต่อยอดทางวิชาการของผลงานการศึกษาวิจัย โครงการวิจัยของคณาจารย์ ตลอดจนนักวิจัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ได้รับการยอมรับในวงกว้าง และสามารถนำไปต่อยอดผลงานทางวิชาการอันจะยังประโยชน์และเป็นแรงขับเคลื่อนต่อการพัฒนาประเทศทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคในทุกภาคส่วน - งานสื่อสารผ่านรายการวิทยุ “รอบตัวเรา”
นำเสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยและงานด้านสิ่งแวดล้อมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งประเด็นความรู้และข่าวในสังคมที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรู้ทางวิชาการด้วยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อหรือประเด็นต่าง ๆ ที่ทางรายการนำเสนอ ในวันอาทิตย์ของทุกสัปดาห์ เวลา 10.30-10.55 น. ทางสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz
โครงการพิเศษ
- หลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน
หลักสูตรสำหรับผู้บริหารระดับสูง ถือกำเนิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยน้อมนำพระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงทุ่มเทและเสียสละพระวรกายในอันที่จะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองเป็นบทเรียน ตลอดจนมุ่งเสริมสร้างเครือข่ายผู้บริหารระดับสูงของประเทศที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนสืบไป - Nonthaburi Project
โครงการจัดหาครูชาวต่างประเทศเพื่อสอนภาษาต่างประเทศให้กับโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดนนทบุรี เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีน อีกทั้งพัฒนาศักยภาพและทักษะด้านภาษาให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดภาษา ทั้งการพูด การฟัง ได้อย่างถูกต้องและสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้