เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

องค์ความรู้คู่จุฬาฯ

การวิจัยและพัฒนาต้นแบบเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการผลิตในภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านเกษตรกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตในภาคเกษตรกรรมในหลากหลายแนวทาง

การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ให้ธาตุอาหาร

การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ให้ธาตุอาหารโดยการนำเชื้อจุลินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารมาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งนำวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อที่ได้ศึกษามาต่อยอด ขยายเชื้อเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์เสริมวัฏจักรธาตุอาหารในดิน

ตัวรับรู้สวมใส่ได้ สำหรับการเฝ้าระวังสุขภาพ

นวัตกรรมตัวรับรู้สวมใส่ได้ (Wearable sensor) คือ การพัฒนาตัวรับรู้ทางเคมีแบบสวมใส่บนวัสดุสิ่งทอ โดยมีการปรับปรุงสมบัติของสิ่งทอให้สามารถดูดซับของเหลวได้ดีเพื่อใช้ในการกักเก็บตัวตรวจวัดสารที่สนใจ (Sensing elements) และตัวอย่างสารคัดหลั่ง

การแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยศาสตร์พระราชา

การแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองเปรมประชากรโดยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms: EM) เป็นการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติ หรือที่เรียกว่าจุลินทรีย์บำบัด

การพัฒนาชุดทดสอบสารปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและปลอดภัย

ในประเทศไทยเกษตรกรยังคงพึ่งพาการใช้ยาฆ่าแมลง โดยเฉพาะการใช้พาราควอทและอาทราซีนเพื่อควบคุมวัชพืชในพื้นที่ทำการเกษตร การนำเทคโนโลยีและสารเคมีทางการเกษตรมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้นี้ จำเป็นต้องคำนึงถึงความยั่งยืนและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อมิให้การตกค้างของสารกำจัดวัชพืชเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภครวมถึงสิ่งมีชีวิตในน้ำ


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search