เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

SDG 11 Sustainable Cities and Communities

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย

การศึกษาและวิเคราะห์บริบทพื้นที่ตามแผนแม่บทการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และการวางแผนผังและออกแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคของเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นไปตามหลักการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

งานประกาศผลโครงการประกวดออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประกาศผลผู้ชนะเลิศระดับประเทศ “โครงการประกวดออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ (Young Architect ECO Home Contest)” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ณ โถงกิจกรรม อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงานถึงรายละเอียดของโครงการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการพัฒนานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ประกาศผลรางวัล โดยได้รับเกียรติจาก ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นประธานในพิธีและมอบเงินรางวัลพร้อมถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศระดับประเทศ ประเภทบ้านประหยัดพลังงาน พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตารางเมตร และ 300 ตารางเมตร

แถลงข่าว Young Architect ECO Home Contest โครงการประกวดออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าว “โครงการประกวดออกแบบบ้านประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพ (Young Architect ECO Home Contest)” ชิงทุนการศึกษารวม 1 ล้านบาท เมื่อวันอังคารที่ 1 ธันวาคม 2563 ณ ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การรับใบประกาศเมืองที่มีศักยภาพเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ

ศาสตราจารย์ ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณประสพสุข พิมพโกวิท รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล เป็นผู้แทนโครงการ “เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4” ในพื้นที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสาทร และเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพระราม 4 เข้ารับมอบใบประกาศเมืองที่มีศักยภาพเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ในงาน “Thailand Smart City Week 2020”

งานเปิดโครงการพระราม 4 โมเดล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ มูลนิธิโตโยต้าโมบิลิตี้ จัดงานเปิด “โครงการพระราม 4 โมเดล” ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานภาคีความร่วมมือนี้ และได้กำหนดพื้นที่ศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในระยะแรกของโครงการบริเวณถนนพระรามที่ 4


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search