การศึกษาและวิเคราะห์บริบทพื้นที่ตามแผนแม่บทการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และการวางแผนผังและออกแบบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคของเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นไปตามหลักการพัฒนาเมืองอัจฉริยะคือ การบริหารจัดการเทคโนโลยี นวัตกรรม และความยั่งยืน ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาให้เมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมเติบโตอย่างสมดุล และมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคู่มือการจัดทำแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย (Thailand Smart City) ในด้านต่าง ๆ ทั้ง 7 ด้านจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (smart environment) 2) พลังงานอัจฉริยะ (smart energy) 3) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (smart economy) 4) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (smart governance) 5) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (smart mobility) 6) พลเมืองอัจฉริยะ (smart people) 7) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (smart living) ซึ่งจะทำให้สามารถขอรับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ต่อไปตามลำดับ
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
คณะผู้วิจัย : ศาสตราจารย์ภิชาน รองศาสตราจารย์ ดร. นพนันท์ ตาปนานนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.journal.unisearch.chula.ac.th/th/issue-reader/75