เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

รอบรั้วโครงการ

Chula Net Zero Research & Innovation platform Lunch Talk ครั้งที่ 4 – “Increase Human Capital: Challenges in Transition toward Net Zero Ambition”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักบริหารวิจัย ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) และสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป) จัดเสวนา Chula Net Zero Research & Innovation platform LUNCH TALK ครั้งที่ 4 “Increase Human Capital: Challenges in Transition toward Net Zero Ambition” เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 อาคารวิจัยจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป ผาริโน ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับและเปิดงาน รวมถึง ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการเพิ่มทุนมนุษย์ ตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สามารถทำได้จริงและยั่งยืน รวมทั้ง เล่าถึงโครงการ “Chula Net Zero Research & Innovation platform” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการผลักดันให้เกิดเปลี่ยนผ่านเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจและสังคมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยสร้างความเข้าใจที่นำไปสู่ความร่วมมือด้านเครือข่ายร่วมกับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และภาคประชาสังคม ที่มีระบบการทำงานแบบบูรณาการเชื่อมโยงความรู้เฉพาะศาสตร์ เพื่อตอบโจทย์การวิจัยพัฒนาที่นำไปสู่การสร้างผลกระทบในวงกว้างและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน

ศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป ยังกล่าวถึงความสำคัญของการร่วมมือและการบริหารจัดการทำงานร่วมกันในการต่อสู้กับความท้าทายในการเข้าสู่ยุค Net Zero และการให้ความสำคัญกับการเพิ่มทุนมนุษย์เพื่อสร้างผลกระทบที่ยั่งยืน โดยเน้นที่ประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มี Multidisciplinary มากที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงโอกาสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น Adaptation funds ที่เป็นโอกาสให้คนที่มีแผนการปรับตัวได้รับทุนสนับสนุน รวมถึง มาตรการทางเศรษฐกิจที่ช่วยในการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ Green jobs ที่มีแนวโน้มในการเติบโตในช่วงปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 8.6 และกล่าวเน้นถึงความสำคัญที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนานิสิต นักวิจัย และคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์


ดร. ภานุวัฒน์ อุส่าห์เพียร Product Manager จากสถาบันมาตฐานอังกฤษ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพิ่มความสามารถของมนุษย์ในการต่อสู้กับความท้าทายในการเข้าสู่ยุค Net Zero ในขณะเดียวกันที่องค์กรทั่วโลกได้ตั้งเป้าหมายเป็น Net Zero เพิ่มมากขึ้น และมีงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดร. ภานุวัฒน์ ย้ำว่า นอกจากเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคาร์บอนต่ำแล้ว ความสำคัญของมนุษย์ในกระบวนการนี้ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะองค์กรที่มุ่งหวังที่จะทำให้เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำเร็จได้ จำเป็นที่ต้องมีบุคลากรที่มีพฤติกรรมสีเขียว มีกรอบความคิดแบบยั่งยืน และมีวัฒนธรรมสีเขียว นอกจากนี้ เรื่องคาร์บอนเครดิตยังเป็นปัญหาใหญ่ของหลายองค์กร ซึ่งการซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่สามารถทำได้ตลอดเวลาเพราะราคาที่ปรับสูงขึ้น ดังนั้น การปรับตัวและการรับมือกับสถานการณ์อย่างรวดเร็วจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการปรับตัวได้เร็วจะเป็นโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงเครื่องมือที่จะส่งเสริมกลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจในการกล่าวอ้างถึงความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ มาตรฐาน ISO 14068-1 หรือมาตรฐานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนเป็นศูนย์สุทธิ ส่วนที่ 1 ความเป็นกลางของคาร์บอนเป็นมาตรฐานสากลใหม่ที่กำหนดหลักการที่เข้มงวด ละเอียด และตรวจสอบได้ ซึ่งเกี่ยวกับปริมาณและการลดหรือการกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยองค์กรจะได้รับคำแนะนำถึงแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้องค์กรนั้น ๆ สามารถกล่าวอ้างคาร์บอนหรือความเป็นกลางของสภาพภูมิอากาศอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างแท้จริง


#Chula Lunch Talk

#Chula Future Food Platform Lunch Talk

#สำนักบริหารวิจัย

#ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch)

#สถาบันมาตรฐานอังกฤษBSI


IMAGE GALERY


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search