จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิจัย “เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace)” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ รองศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยเท้าเทียมไดนามิกเอสเพสฯ รองศาสตราจารย์ ดร. ชัญญพันธ์ วิรุฬห์ศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ร่วมวิจัย รวมถึง รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับทราบและเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ความร่วมมือการผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการ ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) โดย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมเป็นประธานในพิธีฯ ซึ่งลงนามโดย ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ พลเอก เดชนิธิศ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในระหว่างงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ทั้งนี้ คณะวิจัยเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) ได้รับทราบถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ข้อกำหนดในความร่วมมือดังกล่าวฯ และมีความพร้อมที่จะดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ดังที่ได้ดำเนินการมาตลอดนับตั้งแต่ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. ในการคิดค้นและผลิตนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกโครงการก้าวใหม่ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และโครงการของขวัญปีใหม่ 2566 จากรัฐบาล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการขาขาดให้ดีขึ้น โดยนำไปมอบให้กับผู้พิการขาขาดตามโรงพยาบาล จนถึงการบูรณาการความร่วมมือกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ซึ่งเป็นหน่วยที่กำกับดูแลองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ซึ่งมีหน้าที่ดูแลทหารผ่านศึกทั่วประเทศ สำหรับทหารผ่านศึกที่พิการจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของทหารผ่านศึกพิการ ครอบครัวทหารผ่านศึก และพลเรือนที่มีความพิการทุพพลภาพให้สามารถกลับมามีความสุขในการดำรงชีวิตในทุก ๆ วัน รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การสร้างความร่วมมือในครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสอันดีของสองหน่วยงานและคณะผู้วิจัยฯ ที่จะได้ผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อประโยชน์สุขและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแก่ผู้พิการในสังคมได้อย่างแท้จริงจนเกิดการใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมตามบันทึกข้อที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน
นอกจากนี้ ทางกระทรวงกลาโหม ได้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมซึ่งได้รับการสนับสนุนและบูรณาการร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อประโยชน์ต่อการรักษาความสงบและความมั่นคงของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานไร้คนขับพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กสมรรถนะสูงเพดานบินต่ำ ระบบเฝ้าตรวจแจ้งเตือนด้วยปัญญาประดิษฐ์แบบเคลื่อนที่ ระบบ Alert Sensor System ด้วยกระบวนการ Machine Learning เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนสถานการณ์ สำหรับพื้นที่แนวชายแดน กกล.บูรพา ระบบเฝ้าตรวจแจ้งเตือนประจำด่านตรวจตามแนวชายแดน ด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด AI และจรวดดับเพลิง เพื่อชะลอ หน่วงไฟ และดับไฟไม่ให้ลุกลามขยายเป็นวงกว้างโดย นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า วางแผนจะนำจรวดดับเพลิงไปใช้งานจริงในการดับไฟป่า เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดกับเจ้าหน้าที่ที่ต้องลงพื้นที่ในการป้องกันภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสียหายที่จะลุกลามสู่ชุมชนและชาวบ้านบริเวณพื้นที่ที่เกิดอัคคีภัยซึ่งยากต่อการควบคุม
IMAGE GALERY
http://www.unisearch.chula.ac.th/index.php/th/news-activity-2/activities-news-2/4241-mou-space#sigFreeId43a7f9120c