เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

รอบรั้วโครงการ

บทบาทของ Chula 5G Sandbox บนเส้นทางสู่ 5G-Advanced ในประเทศไทย

ประเทศไทยครองตลาด 5G ของโลกในช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีผู้ใช้ 5G มากกว่า 20 ล้านคนภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งแซงหน้าประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป ด้วยอัตราร้อยละ 28 ของประชากรในปะเทศไทย ปัจจุบันเทคโนโลยี 5G มีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ ภาคการผลิต อุตสาหกรรมเหมืองแร่ รวมไปจนถึงกลุ่มอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ เป็นต้น

Chula 5G Sandbox ติดตามฟีเจอร์หลักที่สำคัญของ “5G–Advanced” (5G-ยุคก้าวหน้า หรือ 5G-A) ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดโดย 3GPP Release-18 นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 โดยมาตรฐาน 5G จะเข้าสู่ 5G-Advanced ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีและการหยุดการทำงานของ 3GPP Release-18 ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2567

ในส่วนของเทคโนโลยี 5G-Advanced นั้น Chula 5G Sandbox ได้ทำการวิจัยและทดลองทดสอบผ่านโครงการ Experimental Study and Implementation of 5G Technology on 6 GHz Band (ทดสอบ 5G บนคลื่น 6 GHz ใน Chula Sandbox) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วาทิต เบญจพลกุล ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าโครงการ เช่น การทดสอบ 5G ในย่านความถี่ 6 GHz ใน Chula Sandbox การทดสอบเทคโยโลยี 5G ผ่านการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีAI และ IoT “5G AI/IoT” ด้วยความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช. - NBTC) อีกทั้ง ยังมีการสาธิตโครงการทดลองการสื่อสาร 5G สำหรับการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงและให้ข้อเสนอแนะที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนา 5G ในประเทศไทย

จากการวิจัย Chula 5G sandbox พบว่า 5G-A ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ที่จะมาแทนที่เทคโนโลยี 5G ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ 5G-A จะช่วยปรับปรุงสมรรถนะสูงสุดของ 5G ในปัจจุบันทั้งเรื่องความหน่วงที่สั้น ความสามารถในการรองรับปริมาณการเชื่อมต่อมหาศาล สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากเดิม 10 เท่า เพื่อลดการใช้พลังงานของเครือข่ายสะท้อนถึงความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งอยู่บนพื้นฐานการใช้เทคโนโลยี AI นอกจากนี้ จากขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นของ 5G-A จะช่วยผู้ให้บริการสามารถส่งเสริมบริการความเร็วเสมือนไฟเบอร์ เพื่อเชื่อมต่อ บ้าน, SME, XR, position, NTN และการสื่อสารภาวะฉุกเฉินตามโซลูชันที่ได้วางไว้

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.วาทิต เบญจพลกุล กล่าวว่า “5G-A เป็นเทคโนโลยีเสริมประสิทธิภาพด้านพลังงานและเพิ่มศักยภาพเครือข่าย 5G ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริการ การดำเนินงาน และรูปแบบธุรกิจในปัจจุบันของเทคโนโลยี 5G โดยเทคโนโลยี 5G-A ต้องการเพียงเพิ่มศักยภาพซอฟต์แวร์ในอุปกรณ์เทอร์มินัลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์ในส่วนของฮาร์ดแวร์เครือข่าย"


5G-A จะขยายขอบเขตทางธุรกิจของผู้ให้บริการ

☑️ประสบการณ์ความเร็วพิเศษถึง 10 Gbps: ผู้ให้บริการควรเพิ่มคลื่นความถี่เพิ่มเติมในการให้บริการความเร็วสูงในการเชื่อมต่อที่บ้านและองค์กร เช่น mmWave และ Sub 6 GHz เพื่อรองรับความเร็วในการเชื่อมต่อขาลง (DL) 10 Gbps และความเร็วในการเชื่อมต่อขาขึ้น (UL) 1 Gbps;

☑️ธุรกิจการเชื่อมโยง IoT ขนาดใหญ่: โครงข่ายไฟฟ้ากำลัง (Grid) มาตรวัดพลังงานไฟฟ้า (meter) และอุปกรณ์ปลายทางที่สวมใส่ได้ (wearable terminals) เป็นธุรกิจการเชื่อมต่อที่มีศักยภาพสูง โดยเทคโนโลยี 5G ที่แนะนำ คือ เทคโนโลยี 5G RedCap (Reduced Capability) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้บริการค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยช่วยให้เครือข่ายขยายการรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT จำนวนมากที่เทคโนโลยี Redcap สามารถรองรับได้เพียงการอัปเกรดซอฟต์แวร์เท่านั้น อุปกรณ์เทอร์มินัลของ RedCap มีราคาถูกกว่าโมเด็ม 5G ในปัจจุบัน 10 เท่า ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่คาดการณ์ไว้ และด้วยอุปกรณ์เทอร์มินัลที่ราคาถูกลงนี้ จึงทำให้ง่ายต่อการจัดการกับธุรกิจการเชื่อมโยง IoT ขนาดใหญ่ ถือเป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยี RedCap ไปใช้งานในเชิงพาณิชย์

☑️บริการความต้องการ QoE ขั้นสูง: ผู้ให้บริการจะกำหนดการแบ่งส่วนและความหน่วงที่สั้นบนเครือข่ายสาธารณะและเครือข่ายส่วนตัวสำหรับองค์กร ยานพาหนะ บริการอัจฉริยะ ฯลฯ


เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทยเป็นผู้นำในการใช้ความสามารถและคุณสมบัติของ 5G-A ก่อนประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก ประเทศไทยได้ทำการตรวจสอบคุณสมบัติ 5G-A หลายครั้งแล้ว ตัวอย่างเช่น Base Carrier Aggregation (CA) ระหว่างความถี่ 2600 MHz และ 26 GHz บนเครือข่ายจริง 10.38 Gbit/s และความเร็วในการอัปโหลดข้อมูลสูงสุด 2.31 Gbit/s ในเครือข่าย True และ AIS ได้เสร็จสิ้นการทดสอบ RedCap โดยได้ผลความหน่วงที่สั้น และได้เสร็จสิ้นการทดสอบเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ 5G-A แล้วด้วย เป็นต้น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันการศึกษาที่เน้นด้านเทคนิคซึ่งทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึง องค์กรของรัฐ เช่น กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือภาคเอกชน เพื่อทดสอบกรณีการใช้งานที่น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อภาคส่วนหลักของเศรษฐกิจ

ศาสตราจารย์ ดร.วาทิต เบญจพลกุล ได้กล่าวอีกว่า “อาคาร 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีเป้าหมายที่จะเป็นพื้นที่สำหรับทดลองและทดสอบใช้วิวัฒนาการ 5G ล่าสุดในสภาพแวดล้อม LIVE Private Network นิสิต คณาจารย์ และนักพัฒนาในระบบนิเวศ 5G สามารถใช้พื้นที่และติดตั้ง 5G แบบไม่จำกัดเพื่อศึกษาและทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI, ML, XR, IoT, Metaverse และวิทยาการหุ่นยนต์ สถานีฐาน 5G ที่ทำงานที่ความถี่ 2600 MHz และ 26 GHz (mmWave) ได้รับการติดตั้งเพื่อรองรับกรณีการใช้งานที่หลากหลาย”


กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบันแอปพลิเคชั่นดิจิทัลจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนโดยเครือข่าย 5G เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นรากฐานของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลใหม่ 5G เป็นรากฐานสำคัญของห่วงโซ่อุตสาหกรรมดิจิทัลทั้งหมด รวมถึง การสื่อสาร การประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ชิป และระบบปฏิบัติการ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเดินหน้าอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย โดยร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม องค์การ หน่วยงานกำกับดูแล และผู้ให้บริการโซลูชั่น ICT ชั้นนำ เพื่อการศึกษาการพัฒนาเทคโนโลยี 5G และวิวัฒนาการ 5G ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องต่อไป


IMAGE GALERY


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search