เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

รอบรั้วโครงการ

การสัมมนา “แนวทางการทำวิจัยเพื่อขอทุนต่างประเทศ”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักบริหารวิจัย และสำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จัดโครงการสัมมนา เรื่อง “แนวทางการทำวิจัยเพื่อขอทุนต่างประเทศ” ในวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 และ วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566 ณ ห้อง 201 อาคารวิจัยจุฬาฯ ชั้น 2 ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนจากประสบการณ์บุคลากรวิจัยรุ่นพี่ในการขอทุนต่างประเทศ และเพื่อระดมความคิดเห็นและเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการขอทุนวิจัยต่างประเทศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย ให้เกียรติกล่าวเปิดการสัมมนาและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา

โดยในวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 ซึ่งถือเป็นวันแรกของการสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ภัทราภรณ์ สุนทรสัจ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมนานาชาติ สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ บรรยายในหัวข้อ “Opportunities is in the Air!” ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงในการขับเคลื่อนจุฬาฯ สู่ความเป็นเลิศระดับโลก สอดคล้องกับนโยบาย “Research University That Teaches” ซึ่งอัตราการได้รับทุนของจุฬาฯ ในระดับนานาชาติมีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกปี พร้อมทั้งแนะนำเครื่องมือสำหรับคณาจารย์และนักวิจัยในการหาทุนต่างประเทศ ด้วยข้อมูลโปรแกรมเครือข่ายที่สนับสนุน Sponsored Programs Information Network (SPIN) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลการระดมทุนระดับนานาชาติที่ช่วยสร้างโอกาสให้คณาจารย์ นิสิต/นักศึกษา นักวิจัย และเจ้าหน้าที่เข้าถึงประกาศโครงการทุนในปัจจุบันและที่กำลังจะมีขึ้นในทุกสาขาวิชา ที่รวบรวมโอกาสทางทุนวิจัยมากกว่า 40,000 ทุน ซึ่งครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเซีย รวมไปถึงโอกาสที่มีอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทุนวิจัยโปรแกรม Grant, Fellowships, Training Opportunities, Limited Submissions หรืออื่น ๆ อีกมากมาย โดยประกอบไปด้วยทุนวิจัยจากทางภาครัฐ มูลนิธิ และองค์กรต่าง ๆ มากกว่า 10,000 ราย ซึ่งโปรแกรมสนับสนุนดังกล่าวนี้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนให้คณาจารย์ นิสิต นักวิจัยที่สังกัดจุฬาฯ สามารถเข้าใช้ได้เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและเข้าใช้งานได้ที่ email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือโทรศัพท์ 0 2218 3124

อีกทั้ง ยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์จากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมการเสวนาถ่ายทอดประสบการณ์แนวทางการทำวิจัยเพื่อขอทุนต่างประเทศ อาทิ แพทย์หญิง อัญชลี อวิหิงสานนท์ จากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ดร. สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นักวิจัยพันธมิตรคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับประสบการณ์ในการรับทุนวิจัยจาก NIH (National Institute of Health) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฎธพล แรงทน จากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และรองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. ชาญณรงค์ รอดคำ จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ถ่ายทอดถึงประสบการณ์ในการรับทุนจาก Horizon Europe โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. สุชนา ชวนิชย์ รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการฯ เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา และร่วมแชร์ประสบการณ์ในการทำวิจัยโดยขอรับทุนวิจัยจากต่างประเทศ ข้อได้เปรียบของทุนต่างประเทศที่ให้มากกว่าทุนในประเทศ โอกาสที่ผู้ได้รับทุนจะได้รับหากสามารถดำเนินการขอทุนได้สำเร็จ ความสำคัญในการสร้างทีมเพื่อนร่วมเดินทางในเส้นทางการวิจัยนานาชาติ รวมถึง ข้อคิดเห็นที่เป็นโอกาสในการพัฒนา และอุปสรรคข้อจำกัดในการขอรับทุนวิจัยจากต่างประเทศ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับคณาจารย์และนักวิจัยอีกด้วยต่อไป

IMAGE GALERY


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search