เข้าสู่ระบบ

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Developed in conjunction with Joomla extensions.

รอบรั้วโครงการ

Net Zero 1st Lunch Talk เพื่อเศรษฐกิจและสังคมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืน

สำนักบริหารวิจัย ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) จัดงานเสวนา 1st Lunch Talk ภายใต้หัวข้อ "Fundamental and Outlook of Energy Management Systems toward Net Zero Emission” เมื่อวันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมสร้างความร่วมมือและยกระดับเครือข่ายวิจัยในด้านการลดก๊าซเรือนกระจก สาขา Renewable Energy ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับและเปิดงาน และ ศาสตราจารย์ ดร. ชนาธิป ผาริโน ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าถึงภาพรวมโครงการ “Chula Net Zero Research & Innovation Platform” เพื่อตอบสนองต่อเจตนารมณ์ในการเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตั้งเป้าการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) ภายใต้ 5 กลยุทธ์ต้นแบบเพื่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืน

ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอและสร้างความเข้าใจร่วมเกี่ยวกับการใช้และการจัดการพลังงานหมุนเวียน เพื่อเป้าหมายสู่การใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ผ่านมุมมองประสบการณ์ตรงจากงานวิจัยโครงข่ายไฟฟ้าและมุมมองในการขับเคลื่อนประเทศสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ผ่านเครื่องมือ RE100

นอกจากนี้ ในการเสวนายังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บอกเล่าประสบการณ์ ผ่านมุมมองต่าง ๆ ร่วมกันระหว่างคณาจารย์จากคณะสาขาวิชาต่าง ๆ ของจุฬาฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มาร่วมงานเสวนาฯ ในการมุ่งเน้นและผลักดันให้เกิดการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจและสังคมการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างยั่งยืน โดยสร้างความเข้าใจที่นำไปสู่ความร่วมมือด้านเครือข่ายร่วมกับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ที่มีระบบการทำงานแบบบูรณาการเชื่อมโยงความรู้เฉพาะศาสตร์เพื่อตอบโจทย์การวิจัยพัฒนา ศึกษาอนาคตทางพลังงานที่ยั่งยืน นำไปสู่การสร้างผลกระทบในวงกว้างและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืน ตอบโจทย์ความยั่งยืน “Sustainability Resilience” ที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับประเทศและสังคมโลก

IMAGE GALERY


ศูนย์บริการวิชาการ
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

254 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 4 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2218-2880 โทรสาร. 0-2218-2880 ต่อ 701
Email: unisearch@chula.ac.th

Search